การรับจำนองขายฝากบ้านและที่ดินส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีความนิยมกันเป็นอย่างมาก เพราะด้วยเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้คนต้องดิ้นรนหาเงินใช้กันมากขึ้น เพียงแค่เงินที่ได้จากงานประจำก็คงไม่มีความเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย จึงทำให้ในบางคนต้องหยิบทรัพย์สินที่พอมีมาทำให้เกิดเงินก้อน เพื่อนำเอามาใช้กินใช้จ่ายในแต่ละวัน โดยเฉพาะบ้านหรือที่ดินเป็นทรัพย์สินที่สามารถทำเงินให้ได้มากและไวที่สุดนั่นเอง แต่ก่อนที่จะได้เงินมานั้นก็ต้องมีขั้นตอนในการดำเนินเอกสารก่อน ดังนั้นคุณต้องจำเป็นรู้จักวิธีการเตรียมตัวที่ดีก่อนจะไปยื่นเอกสาร ดังข้อต่อไปนี้ 

รับจำนองขายฝากบ้านและที่ดิน ต้องมีการเตรียมเอกสารหรือไม่ 

คำถามนี้เป็นคำถามที่มีคนสงสัยมากที่สุดว่ารับจำนองขายฝากบ้านและที่ดินมีการเตรียมเอกสารหรือไม่ อย่างอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า ไม่ว่าคุณจะดำเนินการทำอะไรเพื่อให้ได้เงินมาจะต้องมีการเตรียมเอกสารเหมือนกันทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะมีจำนวนของเอกสารมากน้อยเพียงใด และมีขั้นตอนในการดำเนินเอกสารยุ่งยากหรือไม่ สิ่งสำคัญที่ผู้คนคำนึงมากที่สุดเลยคือมีการดำเนินเอกสารที่หลายขั้นตอนและอนุมัติให้ผ่านยาก เพราะท้ายที่สุดแล้วใครที่มาทำนิติกรรมในด้านนี้ก็ล้วนมีความหวังอยากให้มีการอนุมัติผ่านกันทั้งนั้น เพื่อนำเงินมาทำธุระส่วนตัวตามที่ตนเองต้องการ 

วิธีการเตรียมตัวอย่างให้มีความพร้อมที่สุด 

ในส่วนของข้อนี้ทุกคนมีความอยากรู้และเข้าใจมากที่สุดว่า รับจำนองขายฝากบ้านและที่ดินจะต้องเตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมต่อการดำเนินเอกสาร อย่างแรกให้คุณค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งว่าการทำนิติกรรมด้านนี้ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วทำการหาบริษัทที่รับทำธุรกรรมในด้านนี้อย่างถูกกฎหมาย และที่ไหนมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด รวมไปถึงการโทรไปสอบถามถึงขั้นตอนในการดำเนินการ ด้านเอกสาร และอื่น ๆ อย่างละเอียด เพื่อให้มีความผิดพลาดที่น้อยที่สุดนั่นเอง 

เอกสารหลัก ๆ เกี่ยวกับการจำนอง 

มาถึงส่วนสำคัญที่สุดที่ใครหลาย ๆ คนต้องการที่อยากอยากจะรู้มากที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่เมื่อใดทำนิติกรรมในด้านนี้ต้องมีการเตรียมเอกสารไปประกอบการดำเนินการ และประกอบกับการพิจารณาวงเงินที่ได้มา การรับจำนองขายฝากบ้านและที่ดินจะมีเอกสารหลักในการดำเนินการดังนี้ 

  1. โฉนดบ้านหรือที่ดิน ทั้งตัวจริงและสำเนา 
  1. บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา 
  1. สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล พร้อมตัวจริง (ถ้ามี) 
  1. ทะเบียนสมรส ทะเบียนอย่า (ถ้ามี) 
  1. หนังสือการยินยอมของคู่สมรส ว่าให้ทำนิติกรรมจริง ๆ 
  1. ใบการขออนุญาตในการปลูกสร้าง 
  1. ใบค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ 

จบไปแล้วกับการเตรียมตัวก่อนที่จะไปทำนิติกรรมรับจำนองขายฝากบ้านและที่ดิน สิ่งนี้เป็นข้อที่สำคัญที่ทุกคนต้องมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะไปดำเนินการ เพื่อลดเวลาความผิดพลาดในแก้เอกสาร เพราะมีหลายเคสที่ไปดำเนินการแล้วต้องกลับมาแก้ไข เพียงเพราะว่าเอกสารไม่ครบ